ขบวนการ ส1:R1


บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง
ในปัจจุบันนี้อาหารและเครื่อดื่มบรรจุกระป๋องได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสะดวกสบายรวดเร็วในการบริโภคและปรุงอาหาร อย่างไรก็ดียังมีผู้เข้าใจว่าว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิต จากสังกะสี และการบริโภคเครื่องดื่มจากกระป๋องดังกล่าวว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิตจากสังกะสีและการบริโภคเครื่องดื่มจากกระป๋องดังกล่าว นอกจากจะเสี่ยงอันตรายจากกระป๋องบาดแล้วยังมีโอกาสจะได้รับสารตะกั่วเข้า สู่ร่างกายอีกด้วยเพื่อขจัดความรู้สึกวิตกกังวลจนไม่กล้าบริโภคอาหารกระป๋องต่อไปผู้บริโภคจึงควรทราบถึงวัสดุและ กระบวนการผลิต กระป๋องอย่างย่อๆ ดังต่อไปนี้วัสดุหลัก ที่สำคัญคือ แผ่นโลหะชนิดต่างๆ ได้แก่
1. แผ่นเหล็ก เคลือบดีบุก (tinplate) เป็นแผ่นเหล็กดำ (black– plate) ที่มีความหนาระหว่าง 0.15–0.5 มิลลิเมตร นำ มาเคลือบผิวหน้า เดียวหรือทั้งสองหน้าด้วยดีบุก เพื่อ ให้ทนทานต่อการผุกร่อน และ ไม่เป็นพิษ
2. แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก (tin free steel, TFS) เป็นแผ่นเหล็กดำ ที่นำมาเคลือบด้วยสารอื่น แทนดีบุก เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในปัจจุบันมีการเคลือบอยู่ 3 แบบคือ
-เคลือบด้วยสารผสมฟอสเฟตและโครเมต เป็นฟิล์มบางๆ ใช้ทำกระป๋องบรรจุเบียร์ น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และทำถังโลหะชนิดต่างๆ
-เคลือบด้วยอะลูมิเนียม มีความทนทานต่อการกัดกร่อนเนื่องจากความชื้นได้ดี แต่ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง
-เคลือบด้วยโครเมียมและโครเมียมออกไซด์ เพื่อให้สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ดี นิยมใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหารทะเล นมข้นหวาน เป็นต้น
3. อะลูมิเนียมและโลหะผสมของอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติเด่นคือ น้ำหนักเบา ทนทานต่อ การกัดกร่อนสูง นิยมใช้ทำกระป๋อง 2 ชิ้น (2piece can) สำหรับบรรจุน้ำอัดลมและเบียร์ กระป๋องฉีดพ่น (aerosol) สำหรับบรรจุสเปรย์ฉีดผมหรือเครื่องสำอางต่างๆ และฝาชนิดที่มีห่วงเพื่อให้เปิดง่าย เช่น ฝากระป๋อง น้ำอัดลมหรือขวดน้ำดื่มนอกจากวัตถุดิบหลักดังกล่าวแล้วในกรณีที่ต้องการบรรจุ อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่กัดกร่อนสูง เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างโลหะและ อาหารอันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี และรสชาติของอาหารหรือกระป๋องเกิดกัดกร่อนได้ กระป๋องจะต้องถูกเคลือบแล็กเกอร์ก่อนการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค วัตถุดิบทั้งสองชนิดจะต้องเลือกใช้ชั้นคุณภาพที่สัมผัสอาหารได้ โดยปลอดภัยและมีคุณภาพได้ มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเท่านั้น อนึ่ง สำหรับแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีหรือแผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ (galvanized plate) ที่เรานิยมเรียกกันทั่วไปว่า “แผ่นสังกะสี” นั้นจะไม่ใช้ทำกระป๋อง บรรจุอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะมีโลหะหนัก พวกสังกะสีและตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ใช้กระป๋องและถังบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มิใช่อาหารได้ดี เนื่องจากมีราคาถูกกว่าแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก



กระบวนการผลิตกระป๋องแบ่งตามชนิดกระป๋องออก ดังนี้คือ
1. กระป๋อง 3 ชิ้น (3piece can) เป็นกระป๋องที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน 3 ชิ้นคือตัวกระป๋อง ฝาบนและฝาล่าง ได้แก่ กระป๋องที่ส่วนใหญ่ใช้บรรจุอาหาร มักจะผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก และแผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก ขั้นตอนการผลิตแสดงเป็นลำดับขั้น
2. กระป๋อง 2 ชิ้น (2piece can)เป็นกระป๋องไร้ตะเข็บข้าง มีตัวกระป๋องและฝาล่างเป็นชิ้นเดียวกันและมีฝาบนอีกชิ้นหนึ่ง วิธีการขึ้นรูปกระป๋อง 2 ชิ้น มี 3 วิธีการ คือ
1) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มครั้งเดียว (drawn can)
2) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊ม 2 ครั้ง (drawn and redrawn can ; DRD can) โดยปั๊มครั้งแรกจะขึ้นรูปเป็นถ้วยเตี้ยก่อนหลังจากนั้นจะปั๊มอีกครั้งเพื่อให้เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องเล็กลงและความสูงมากขึ้นตามต้องการกระป๋อง2ชิ้นที่ผลิตโดยวิธีนี้จะมีความหนาเท่ากันตลอดทั้งตัวและก้นกระป๋องสามารถทนความดันและสุญญากาศในกระป๋องได้
3) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มและรีดผนัง (drawn and wall ironed can หรือ DI can) โดยปั๊มครั้งแรกจะได้ถ้วยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับกระป๋องที่ต้องการหลังจากนั้นผนังกระป๋องจะถูกรีดให้เบาลงและกระป๋องมีความสูงเพิ่มขึ้น(ขั้นตอนการผลิตแสดงดังรูป)กระป๋องประเภทนี้ตัวกระป๋องมีผนังบางกว่าก้นกระป๋อง สามารถทนความดันได้ แต่ทนสุญญากาศภายในกระป๋องไม่ได้ จึงนิยมใช้บรรจุเบียร์และน้ำอัดลม


ขั้นตอนในการผลิตกระป๋อง 2 ชิ้น โดยวิธี DI

ที่มาของภาพ:mew6.com



ขนาดของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง

รูปตารางแสงขนาดของกระป๋อง


วีธีการบรรจุอาหารกระป๋อง
มีทั้งผ่านและไม่ผ่านขบวนการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน(sterilization) ซึ่งขึ้นกับจุดประสงค์ที่ต้องการคือถ้าผ่านขบวนการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อนอาหารกระป๋องที่บรรจุจะสามารถเก็บได้นาน เพราะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเสีย แต่ถ้าไม่ผ่านขบวนการนี้ มักมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไอน้ำ ก๊าซ และแสงสว่างจากภายนอกเท่านั้น ซึ่งมักใช้บรรจุอาหารแห้ง เช่น ใบชา นมผง คุ๊กกี้ ฯลฯ
อาหารกระป๋องจะผ่านขบวนการฆ่าเชื้อหลังการปิดผนึกเรียบร้อยแล้วโดยใส่ในหม้อฆ่าเชื้อที่มีความดันสูง และใช้ความร้อนถึง 250 องค์ศาฟาเลนไฮด์ เป็นระยะเวลานาน 30 ถึง 90 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารวิธีการฆ่าเชื้อนี้จะฆ่าจุลินทรีย์ภายในกระป๋องดังนั้นอาหารจึงถูกถนอมไว้ได้นานอาจจะถึงสองปีในอนาคตอันไม่ไกลการเชื่อมตะเข็บข้างกระป๋องจะใช้แสงเลเซอร์แทนไฟฟ้า (lazerwelding)ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีก้าวใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยสามารถเชื่อมผ่านผิวแลคเกอร์และผ่านเหล็กเคลือบโครเมี่ยมได้


อุปกรณ์การบรรจุกระป๋อง

รูปที่1หม้ออัดความดัน (ฆ่าเชื้อจุลินทรีย)และอุปกรณ์การปิดผนึกกระป๋องขนาดเล็ก



รูปที่2 เป็นอุปกรณ์การผลึกกระป๋องขนาดใหญ่



สรุปแล้วบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องนั้นมีหลายชนิดด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นกระป๋องทีทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกแผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุกหรือจะเป็นอะลูมิเนียมและโหละผสมกันแต่อย่างไรก็ตามในการผลิตอาหารแต่ละประเภทนั้นก็ต้องคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์กระป๋องที่นำมานั้นตรงถูกต้องและเหมาะสมทั้งสัดส่วขนาดกระป๋องชนิดของกระป๋องอีกด้วยส่วนการปิดผลึกกระป๋องก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบออกไปไม่ว่าจะเป็นการปิดผลึกด้วยมือหรือเครื่องจักระดับอุตสาหกรรมแต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตก็ต้องคำนึงถึงการเลือกใช้กระป๋องที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วยเช่นกันและการบรรจุหรือปิดผลึกก็ต้องทำอย่างถูกหลักสะอาดและปลอดภัย

การแสดงฉลากอาหาร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194)พ.ศ.2543เรื่องฉลากกำหนดให้อาหารดังต่อไปนี้ต้องมีฉลาก
กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ
กลุ่ม 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก
กลุ่ม 4 อาหารทั่วไป (อาหารอื่นนอกจากอาหารกลุ่ม 1-3)
และได้กำหนดแนวทางในการแสดงฉลากอาหารดังนี้
1. การแสดงฉลากอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคของอาหารกลุ่ม 1, กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยจะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใดในฉลากของอาหารแต่ละชนิด
1.1 ชื่ออาหาร ชื่ออาหารภาษาไทยต้องมีข้อความต่อเนื่องกันในแนวนอน ขนาดของตัวอักษรใกล้เคียงกัน สีเดียวกัน ถ้าแสดงบรรทัดเดียวได้ไม่หมดก็แยกเป็นหลายบรรทัดก็ได้ และชื่ออาหารภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ
1.2 เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมาย ด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ และมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก
1.3 ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของ ผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิตด้วย
1.4 ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผงหรือแห้งหรือก้อนให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ถ้าอาหารเป็นของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ ในกรณีที่เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย
1.5 ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยแสดงจากปริมาณมากไปหาน้อย กรณีที่เป็นอาหารที่ต้องเจือจางหรือทำละลายก่อนบริโภค ให้แสดงส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารเมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเมื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้ในฉลาก
1.6 ข้อความว่า "ใช้วัตถุกันเสีย" ถ้ามีการใช้
1.7 ข้อความว่า "เจือสีธรรมชาติ" หรือ "เจือสีสังเคราะห์" แล้วแต่กรณีที่มีการใช้
1.8 ข้อความว่า "….. เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุงแต่งที่ใช้) เช่น กรณีที่เป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมทให้แสดงข้อความว่า "ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมทเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร"
1.9 ข้อความว่า "ใช้ ….. เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้) ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของฉลาก เช่น กรณีที่เป็นแอสปาร์แตมให้แสดงข้อความว่า "ใช้แอสปาร์แตมเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล"
1.10 ข้อความว่า "แต่งกลิ่นธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นสังเคราะห์","แต่งรสธรรมชาติ" หรือ "แต่งรสเลียนธรรมชาติ" แล้วแต่กรณีถ้ามีการใช้
1.11 แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้
ก. อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
ข. อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน
ค. อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์

1.12 คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
1.13 วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี)
1.14 วิธีการใช้และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อน หรือบุคคลกลุ่มใดใช้โดยเฉพาะ
1.15 ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
(สำหรับอาหารกลุ่ม 4 อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ)
1. ชื่ออาหาร
2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายแล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงประเทศผู้ผลิตด้วย
3. ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก
4. วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ)

2. การแสดงฉลากที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่จำหน่ายให้กับผู้ปรุงหรือผู้จำหน่ายอาหารให้แสดงเหมือนกับฉลากที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค เว้นแต่กรณีมีคู่มือหรือเอกสารประกอบที่แสดง รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร คำแนะนำในการเก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน วิธีการใช้ และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อนหรือบุคคลกลุ่มใดใช้เฉพาะ การใช้วัตถุกันเสีย วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เจือสี แต่งกลิ่น การใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร อยู่แล้ว จะแสดงฉลากเพียงชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณสุทธิ เลขสารบบอาหาร และวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อนก็ได้
3. การแสดงฉลากอาหารที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่นำมาจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบของโรงงาน ต้องมีข้อความภาษาไทย เว้นแต่อาหารที่นำเข้าอาจแสดงข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
3.1 ชื่อและประเภทหรือชนิดของอาหาร
3.2 เลขสารบบอาหาร
3.3 ปริมาณสุทธิเป็นระบบเมตริก
3.4 ชื่อผู้ผลิต สำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต สำหรับอาหารนำเข้า แล้วแต่กรณี
4. การแสดงฉลากของอาหารที่ผลิตเพื่อส่งออก จะแสดงข้อความเป็นภาษาใดก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
4.1 ประเทศผู้ผลิต
4.2 เลขสารบบอาหาร (ถ้ามี)



สรุปแล้วการแสดงฉลากอาหารนั้นต้องมีการทำที่ถูกต้องอย่างเช่นบอกชื่ออาหาร เลขสารระบบอาหาร ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตและบรรจุ ปริมาณ ส่วนประกอบ ใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ การเจือสี เป็นวัตถุปรุงแต่งหรืออาจจะรวมไปถึงบอกการได้รับสารอาหารจากอาหารชนิดนี้ด้วยและฉลากชินค้าที่จะสมสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องมีเครื่องหมาย อ.ย. หรือที่เรียกว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำกับอยู่้ด้วย


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวโพด




ตัวอย่างโลโก้ของผลิตภัณฑ์ต่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...